วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

::Crows Zero






Crows Zero เป็นผลงานเรื่องใหม่ในปี 2008 ของผู้กำกับขวัญใจเด็กแนวอย่าง ทาเคชิ มิอิเกะ แต่สิ่งที่ดึงดูเหล่า นักดูหนังเพศชาย และเกรียนน้อย เกรียนใหญ่ ให้ตื่นเต้นขนลุกขนพอง กับงานชิ้นนี้ก็คือ นี้เป็นการดัดแปลง หนังสือการ์ตูนมังงะ ชื่อดังระดับตำนาน ระดับไบเบิล ของเหล่าเด็กชายที่ชื่อว่า Crows (ฉบับแปลไทย “เรียกเขาว่าอีกา” โดยสำนักพิมพ์วิบูรณ์กิจ) ของนักเขียนการ์ตูนนาม ฮิโรชิ ทากาฮาชิ
ย้อนความไปถึงการ์ตูนต้นฉบับกันเล็กน้อย Crows นั้นถูกเขียนขึ้นเมื่อปี 1991 เล่าเรื่องต่อเนื่องยาวนาน จนมาถึงปัจจุบัน กับการ์ตูนเรื่องใหม่ที่เป็นเหมือน ภาคต่อเนื่องที่ชื่อว่า Worst เนื้อหาของทั้งสองเรื่องนั้นแสนเรียบง่าย เล่าเรื่องของโรงเรียนมัถยนม ซูซูรัน หรือสมญานามว่า “โรงเรียนอีกา”




โรงเรียนที่ตั้งอยู่ในย่านชานเมืองแห่งหนึ่ง ณ ประเทศญี่ปุ่น อันเป็นแหล่งรวมไว้ด้วยสิงห์สาราสัตว์ เด็กเลว นักเรียนนักเลง จากทุกสารทิศ มารวมตัวกันอยู่ในยานนี้ โดยมีโรงเรียนมัถยนม ซูซูรัน เป็นเหมือนศูนย์กลางแห่งความบ้าคลั่ง ที่รวบรวมเด็กเหลือขอ จากทั่วสารทิศ ที่เรียนไม่ได้เรื่อง กีฬาไม่เก่ง หญิงไม่มอง วันๆ ใช้ชีวิตอยู่กับการตีกันเอง ไม่ก็ยกพวกไปตีกับชาวบ้าน
เบื้องหลังแห่งการประสบความสำเร็จของ การ์ตูน ทั้งสองเรื่องนั้นก็ไม่ใช่สิ่งลึกลับอะไรมากมายนัก ทากาฮาชิ สามารถสร้างเรื่องราวอันน่าตื่นเต้น ตัวละครที่เปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ ทั้งในทางบทบาท และในแง่งานศิลป์ ของภาพ รวมถึงการออกแบบฉากต่อสู้ได้อย่างเร้าใจ โดยไม่หลุดจากกรอบความเป็นจริง จนเกินจะสัมผัสได้อย่างเช่นการ์ตูน นักเรียนนักเลงบางเรื่อง



ทากาฮาชิ เล่าเรื่องที่ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ตัวละคร หากแต่ใช้สถาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลา เป็นจุดศูนย์กลางของเรื่อง ตั้งแต่โรงเรียนมัถยมซูซูรัน เมืองเล็กๆ ที่พวกเขาอยู่ ครอบคลุมไปถึงโลกของเด็กเลว เช่นเดียวกับเวลาที่จำกัดอายุของตัวละครไว้ที่ช่วงวัยรุ่นตอนปลาย ตัวละครรุ่นแล้วรุ่นเล่า สลับสับเปลี่ยนมามีบทบาทในเรื่อง สร้างวีระกรรมอันยิ่งใหญ่ พิสูจน์ถึงคุณค่านักเลงแบบเก่า และคุณค่าแห่งลูกผู้ชายที่แท้จริง ตั้งแต่หมาป่าผู้อิสระ โบยะ ฮารุมิจิ (ตัวเอกจาก Crows) และชายผู้ไปได้ใกล้เคียงกับตำแหน่ง “หัวหน้า” ที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งซูซูรัน ซึกิชิมะ ฮานะ (ตัวเอกจาก Worst)
Crows Zero ก็เช่นเดียวกันการ์ตูนสองเรื่องนั้น แต่ครั้งนี้ ทากาฮาชิ (ที่รับหน้าที่แต่งเรื่อง เขียนบทหนังด้วย) เลือกที่จะเล่าเรื่องที่เป็นเหมือน ตำนานที่ยังไม่ได้ถูกบอกกล่าว เป็นการเล่าเรื่องในลักษณะของภาคก่อนหน้า (หรือ Prequel) ของต้นฉบับการ์ตูน ด้วยการย้อนเวลาไปหนึ่งปีก่อนหน้า ที่โบยะ ฮารุมิจิ ตัวเอกของฉบับการ์ตูนจะเข้าเรียนเป็นวันแรก




ทากาฮาชิ เล่าเรื่องที่ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ตัวละคร หากแต่ใช้สถาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลา เป็นจุดศูนย์กลางของเรื่อง ตั้งแต่โรงเรียนมัถยมซูซูรัน เมืองเล็กๆ ที่พวกเขาอยู่ ครอบคลุมไปถึงโลกของเด็กเลว เช่นเดียวกับเวลาที่จำกัดอายุของตัวละครไว้ที่ช่วงวัยรุ่นตอนปลาย ตัวละครรุ่นแล้วรุ่นเล่า สลับสับเปลี่ยนมามีบทบาทในเรื่อง สร้างวีระกรรมอันยิ่งใหญ่ พิสูจน์ถึงคุณค่านักเลงแบบเก่า และคุณค่าแห่งลูกผู้ชายที่แท้จริง ตั้งแต่หมาป่าผู้อิสระ โบยะ ฮารุมิจิ (ตัวเอกจาก Crows) และชายผู้ไปได้ใกล้เคียงกับตำแหน่ง “หัวหน้า” ที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งซูซูรัน ซึกิชิมะ ฮานะ (ตัวเอกจาก Worst)
Crows Zero ก็เช่นเดียวกันการ์ตูนสองเรื่องนั้น แต่ครั้งนี้ ทากาฮาชิ (ที่รับหน้าที่แต่งเรื่อง เขียนบทหนังด้วย) เลือกที่จะเล่าเรื่องที่เป็นเหมือน ตำนานที่ยังไม่ได้ถูกบอกกล่าว เป็นการเล่าเรื่องในลักษณะของภาคก่อนหน้า (หรือ Prequel) ของต้นฉบับการ์ตูน ด้วยการย้อนเวลาไปหนึ่งปีก่อนหน้า ที่โบยะ ฮารุมิจิ ตัวเอกของฉบับการ์ตูนจะเข้าเรียนเป็นวันแรก




ในปีก่อนหน้านั้น เป็นวันเปิดภาคเรียนเช่นเดียวกัน พายุแห่งความวุ่นวายลูกใหม่ ได้เริ่มตั้งเค้าขึ้นมาแบบเงียบๆ และพร้อมที่โหมกระหนั่มใส่ซูซูรัน ในอนาคตอันใกล้นี้ หากแต่ไม่ใช่เหล่าเด็กปีหนึ่งไฟแรง ที่กำลังต่อยตี กันอยู่ในโรงประชุม ขณะประถมนิเทศนั้นหรอกนะ แต่เป็น เด็กหนุ่ม ปีสาม ทีย้ายเข้ามาเรียนใหม่นาม เก็นจิ ทาคิยะ (ชุน โอกูริ) ต่างหาก
เก็ตจิ ลูกชายของหัวหน้าแก๊งทาคิยะ ยากูซ่าสุดดัง ย้ายเขามาเรียนในระดับชั้นปี 3 โรงเรียนซูซูรัน หวังยึดครองโรงเรียนแห่งนี้ เพื่อพิสูจน์คุณค่าตัวเองต่อพ่อ ผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งการจะยืนอยู่บนจุดสูงสุดของโรงเรียนอีกานั้น การเอาชนะคนอย่าง เซริซาว่า ทามาโอะ (ทาคายูกิ ยามาดะ) เป็นสิ่งที่จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เซริซาว่า ชายที่กุมอำนาจ ของกลุ่มกองกำลังสุดแข็งแกร่งที่สุดของ ซูซูรัน การจะเอาชนะมันได้นั้น
เก็นจิ ต้องเริ่มจากตัวคนเดียว รวบรวมกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย ขึ้นมาต่อกร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หัวโจกของ อีกสองกลุ่มใหญ่อย่าง มาคิยะ ทาเคชิ และฮิชากิ ผู้แข็งแกร่ง ก่อตั้งกองกำลัง G.P.S ขึ้นมา สงครามดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อผู้แข็งแกร่งคนสุดท้ายเท่านั้นที่จะยืนหยัด
แม้จะเป็นการแต่งเรื่องขึ้นมาใหม่ แฟนๆ ของ Crows ก็คงจะพอใจอยู่บ้าง โดยเฉพาะเมื่อมีการอ้างอิง องค์ประกอบจากการ์ตูนต้นฉบับอยู่พอสมควร ไม่ว่าจะเป็นตัวละครอย่าง รินดาแมน หรือสามสหายปีหนึ่ง ฮิโรมิ ปง และมาโค ตัวละครเหล่านี้แม้จะไม่ได้เป็นตัวหลัก แต่ก็คงสร้างความพึงพอใจให้กับแฟนของ Crows ได้บ้าง



สิ่งที่ถูกอ้างอิง ไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะตัวเนื้อหาของการ์ตูน รวมถึงกิจกรรมสุดโปรดของผู้เขียนอย่าง ที่มักถูกอ้างถึงในหน้าแถม ภาคผนวก จากหนังสือการ์ตูน การฟังเพลงร็อควง Street Beats ที่ถูกเลือกให้มาทำดนตรีประกอบ และกีฬาปาเป้า ก็ถูกใส่มาในฐานะงานอดิเรกของตัวละครตัวหนึ่งในเรื่อง (ขอนอกเรื่องนิดหน่อยนะครับ การ์ตูนเรื่อง Crows นอกจากตัวเรื่องจะสนุกแล้ว หน้าแถมของเปิดโอกาศให้ผู้เขียน ได้เล่าเรื่องราวส่วนตัว เรื่องงานอดิเรก ชีวิตการเป็นนักเขียน การไต้เต้า ได้อย่างมีรสชาติ ยังสนุกไม่แพ้กันด้วย)
ทาเคชิ มิอิเกะ ดูจะสวมวิญญานแบบมือปืนรับจ้าง สร้าง Crows Zero โดยไม่พยายามสร้างให้เป็นงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ มีความเป็นงานประเภทหนังตลาดอยู่ค่อนข้างสูง หนังดูได้ง่ายๆ ประเด็นชัดเจน บรรดาชายหนุ่มทั้งหลาย ได้ดูแล้วก็คงจะซึ้ง ตื้นตันในเนื้อหา ประเภทมิตรภาพ ความฝัน ความรุนแรง อะไรประเภทนี้ได้ง่ายๆ การแทรกฉากตลกเหนือจริง แบบการ์ตูนถูกใส่เพื่อรักษาอารมณ์ตลกห่ามๆ แบบดังเดิม
อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบประเภทจับยัด บางอย่างที่ถูกใส่เข้ามา ก็สร้างรำคาญได้ไม่น้อย พูดแบบเฉพาะเจาะจงก็คือ ตัวละครหญิงที่แสดงโดย เมอิซะ คุโรกิ ถือว่ารกรุงรัง ไม่จำเป็นต่อเนื้อเรื่องเท่าไหร่เลย การโผล่มาร้องเพลงถึงสองเพลงของตัวละครตัวนี้ คงจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก การยัดเยียดจากต้นสังกัดเพื่อโปรโมตเธอในฐานะดาราหน้าใหม่เท่านั้น



Crows Zero เป็นเรื่องราวที่ให้น้ำเสียงไปในทาง Escape Fiction หรือ ความบันเทิงอันว่าด้วยการหนีออกจากโลกแห่งความเป็นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหา การเสนอภาพแห่งความฝันของชายหนุ่ม ที่สามารถใช้ชีวิตอย่างมีเกียรติ และอิสระอย่างที่โลกที่แท้จริงนั้นไม่มีทางเป็นไปได้ อย่างไรก็ตามเนื้อหาที่ Crows Zero นำเสนอนั้นล่อแหลมเหลือเกินที่จะ กลายเป็นยาพิษต่อผู้ดู (ผู้อ่าน) ที่ไม่มีวิจารณะยานเพียงพอ เส้นแห่งระหว่างเหล่าช่างกลที่น่ารักเกียจ กับวีระบุรุษนักเลงนักเรียนใน Crows Zero ก็ดูเหมือนจะบาง และทับซ้อนอยู่ที ตราบใดที่ชีวิตจริงยังน่าเบื่อ ความฝันแบบ Crows ก็ยังจะคงหอมหวาน และน่าค้นหาอยู่ต่อไป
ที่น่าชื่อชมก็คือ มิอิเกะ ได้ยังคงสานต่อในเรื่องบความฝันแบบเด็กผู้ชาย และยังต่อยอดแนวคิด ด้วยการพูดถึงการปะทะกันของความฝันแบบเด็กผู้ชาย กับโลกแห่งความเป็นจริง ได้อย่างน่าสนใจ (ต้นฉบับมีเนื้อหาทำนองนี้อยู่บ้างเหมือนกัน แต่ไม่ได้เป็นส่วนหลักของเรื่อง) สุดท้ายซูซูรันอาจจะเป็นเพียงความฝัน ความไร้ค่าอย่างที่ตัวละคร “รินดาแมน” พูดไว้ ตอนสุดท้ายถือเป็นบทสรุปของแนวคิดที่ว่านี้ มิอิเกะ ตัดสลับระหว่าง 3 - 4 เหตุการณ์เข้าด้วยกัน เพื่อสะท้อนถึงความ เขตแดนของความฝันกับความจริง ที่ทับซ้อนกันอยู่จนแยกไม่ออก
เด็กสาวผู้อยู่วงนอกมองเห็นภาพคนรัก กำลังทำสิ่งที่เธอไม่มีวันเข้าใจ, ตัวของ เก็นจิ เองผู้มองซูซูรัน เป็นเพียงเครื่องมือที่จะให้พ่อผู้ยิ่งใหญ่ มองเห็นคุณค่าของตัวเขาเองมากขั้น สุดท้ายสงครามแห่งซูซูรัน ที่เก็นจิ ต้องห่ำหั่นกลับไม่ใช่เพื่อพ่อ แต่เป็นเพื่อเกียรติของตัวเอง



โทคิโอะ นักเรียนหนุ่มคู่หูของเซริซาว่า ต้องพบตัวเองอยู่อย่างเดียวดาย ขณะสงครามอันศักดิ์สิทธิ์ของเหล่าเด็กหนุ่มกำลังจะเกิดขึ้น โทคิโอะ กลับต้องเผชิญหน้ากับความตาย จากโรคร้ายที่รุมเร้า เช่นเดียวกับ ตัวละครสำคัญอีกตัวของเรื่อง หนุ่มที่ชื่อว่า คาตากิริ เคน (เคียวซุเกะ ยาเบะ) ยากูซ่าตัวกระจอกที่เคยเรียนซูซูรัน แต่ต้องลาออกกลางคัน เขาเป็นผู้ให้คำแนะนำต่างๆ แก่เกนจิ ในการตั้งแก็ง และรับมือกับพวก เซริซาว่า เหมือนเป็นขุนพลของหนึ่งของแก๊งเก็นจิ
แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง คาตากิริ ถึงได้เขาใจ เขาเพียงพึ่งพาอาศัยไปกับ ความฝันของเก็นจิ ความฝันที่ตัวเองไม่สามารถทำได้สำเร็จในอดีต สุดท้ายแล้ว คาตากิริ ถึงรู้ว่าสงครามที่กำลังเกิดขึ้นนั้นตัวเองเป็นเพียงวงนอก ความฝันในซูซูรันของเขานั้นมันจบไปนานแล้ว แต่ชีวิตก็ใช่จะจบสิ้น ยังมีสงคราม มีการต่อสู้ในโลกของผู้ใหญ่ที่ต้องเผชิญหน้าอีกมากมาย
Crows Zero ฉายภาพอันว่าด้วย โลกแห่งการต่อสู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งเกียรติยศนั้น อาจจะเด่นชัดมากในสถานที่อย่างซูซูรัน และ ในช่วงชีวิตวัยรุ่นอันร้อนแรง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ในโลกแห่งความเป็นจริง จะปราศาจซึ่งสิ่งเหล่านี้โดยสิ้นเชิง สุดท้ายการต่อสู้รูปแบบอาจจะเปลี่ยนไป แต่ความกล้าหาญ และคุณค่าของลูกผู้ชายแบบเก่า นั้นสามารถพิสูจน์ ทุกวินาทีแห่งชีวิต



Credits


บริษัทผู้สร้าง - Scholar Films Co., Ltd., Martini Film Co. Ltd.กำกับ - Takeshi Miike


อำนวยการสร้าง - Mataichiro Yamamoto


บทภาพยนตร์ - Takahashi Hiroshi


แสดงนำ - Shun Oguri, Kyosuke Yabe, Takayuki Yamada, Shunsuke Daito, Meisa Kuroki, Tsutomu Takahashi, Goro Kishitani


::Logo and Name Card

Common-T Logo
concept ที่บอกว่าความธรรมดาที่ในส่วนลึกเเล้วดูไม่ธรรมดา จึงนำเสนอออกมาในรูปแบบของผีเสื้อเนื่องจากว่าในตัวผีเสื้อนั้นตอนเเรกเกิดอาจจะเป็นเเค่ตัวหนอนธรรมดาที่บางคนอาจจะไม่ชอบหรือกลัว เเต่ความจริงเเล้วในตัวหนอนตัวนั้นวันนึงมันจะกลายเป็นผีเสื้อที่สวยงามดูสง่าทุกคนมองในทางที่ดีกว่าในตอนเเรกที่เป็นหนอน โดยเสนอที่ลำตัวงอตัวออกมาในรูปแบบขแงตัว c เเละ t ซึ่งเป็นตัวย่อของชื่อ Brand นี้

Name Card of Common-T

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

::Cloth Hanging Design

Common-T Brand of T-Shirt
Design By Witta