วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2550

sequence 4

ลองทำเป็นวีดีโอที่เเบ่งช่องเอาไว้หกช่อง เพื่อเเยกกลองเเต่ละใบเอาไว้ในเเต่ละช่อง เเล้วก็ขยับตามจังหวะกลองที่มี ในเเต่ละช่องก็จะมีจังหวะของมันเองตามเสียงกลองที่เข้าไป โดยที่มีไฮเเฮต กระเดื่อง กลอง ทอม เเฉเล็ก เเฉใหญ่ โดยอาจจะเฟตเปลี่ยนระบบช่องบ้าง


sequence 3

ในกาตีเเฉหรือว่าไฮเเฮตก็จะทำให้ equalizer วิ่งไปติดกับตัวเเฉหรือไฮเเฮตที่เเล้วมันจะสั่น


เเสดงลักษณะว่าถ้าเกิดเสียงที่สิ่งไหนสิ่งนั้นจะเฟตตัวออกมา (3,4,5,6)



ลักษณะของการตีพร้อมกันระหว่างกระเดื่องกับเเฉ(7)เเละกระเดื่องกับทอม(8)

sequence 2

1.ในลักษณะที่มีการตีกระเดื่องจะทำให้กลองอย่างอื่นมีการขยับ เหมือนว่าโดนเสีนยงกระเดื่องกระเเทกทำให้สั่น


ในลักษณะที่มีการตีกลองชนิดอื่นๆก็จะเกิดการเคลื่อนที่ไปเด้งกับกระเดื่องเเล้วกลับมาที่เดิม ตามลายที่ทำไว้ให้ดู (2,3,4)
ส่วนในลักษณะของเเฉก็จะเกิดการสั่นเหมือนถูกตี (5,6)



ในลักษระที่มีการเหยียบกระเดื่องพร้อมกับการตีกลองทอม ก็จะเปนการที่ทอมมีการสั่น พร้อมเเรงกระเเทกที่กระเดื่องส่งมา เเละในการที่จบด้วยการลงเเฉ ก็จะค่อยๆเฟดเเฉมาสั่นใน background



เเละในลักษณะทีมีการเหยียบกระเดื่องพร้อมกับการตีเเฉก็จะมีเเรงส่งกระเดื่องขึ้นไปทำให้เเฉสั่น ตามรูป

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550

sequence 1

จากเมื่อครั้งที่เเล้วลองทำเป็นโมชั่นไป ปรากฎว่าไม่เวิคเพราะว่ารูปแบบที่นำเสนอมันดูไม่น่าสนใจเเละมันดูเชย เลยได้รับคำเเนะนำมาว่าควรทำเป็นภาพนิ่งดูก่อน ก่อนที่จะลงมือทำเป็นตัววีดีโอว่ารูปเเบบมันจะออกมาเป็นอย้างไรว่าด้วยเรื่องของ form,จังหวะ,scale เเละการเคลื่อนไหวของตัวงานว่าเวลาที่เกิดเสียงที่ส่วนไหนของกลองจะออกมาเป็นเเบบใด เเล้วเวลาที่มันตีพร้อมกันจะเป็นเเบบใด



-ถ้ามีการตีที่จุดใดก็จะเกิด movement ของ scale ที่ใหญ่ขึ้นในจุดอื่นเช่นกันตามรูป (1,2,3,4)



-อันที่ห้าถ้าเกิดเสียงกระเดื่องจะเป็นลักษณะของวงกลมกระจายออกด้านหลัง ส่วนอันที่หกถ้าหากตีเเฉพร้อมกับเหยีบกระเดื่องก็จะเปนลักษณะตามภาพ

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550

imagination liar 2

sequence drums 3



อันที่สามก็เหมือนกันว่าด้วยเรื่องของบีตเเละจังหวะ โดยใช้ form เหมือนกัน เน้นไปที่บีต โดยใช้สเกลในการทำจังหวะ

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550

sequence drums 2



อันที่สองอออกมาโดยใช้ form ของกลองชุดเช่นเดิม โดยเเทนวงใหญ่เป็นเสียงของบีทกระเดื่อง เเละอันเล็กเเทนเสียงของสเเนร์ เเละเสียงของไฮเเฮตเเทนด้วยคลื่นเสียงที่เป็นวงกลมเป็นจังหวะเป็นเหมือนเสียงที่กระจายเป็นวงออกมาเเละมีตารางที่มีรูปเเบที่คล้ายกับเเถบกลองเเละมีวงกลมเล็กๆเเทนตัวโน๊ตในเเท๊บกลองมาสร้างจังหวะในการเคลื่อนที่เเละในเพลงมันจะมีซาวด์ที่เข้ามาเสริมก็เเทนด้วยภาพที่เป็นเเอ๊บเเสตรก โดยในภาพนั้นก็ยังคงมีฟอร์มของวงกลมอยู่ด้วยเช่นกัน

sequence drums 1



นำเสนอออกมาในรูปแบบของโมชั่น โดยใช้ form ของกลองชุด ซื่งมีลักษณะเป็นวงกลม นำมาสร้างเป็นจังหวะเเละเน้นในเรื่องของจังหวะ โดยเเทนวงใหญ่เป็นเสียงของบีทกระเดื่อง เเละอันเล็กเเทนเสียงของสเเนร์ เเละเสียงของไฮเเฮตเเทนด้วยเส้นที่เป็นตัวคลื่นเสียงเพราะเสียงเป็นการซอยที่ถี่มาก เลยใช้เส้นคลื่นเสียงเเสดงความถี่ของจังหวะ เเล้วในเรื่องของซาวด์ที่เข้ามาเสริมทำให้เกิดความหลากหลายในเสียงก็เเทนด้วยภาพที่เป็นเเอ๊บเเสตรก โดยในภาพนั้นก็ยังคงมีฟอร์มของวงกลมอยู่ด้วยเช่นกัน

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2550

IMAGINATION LIAR


Imagination Liar by Rock in sensuous

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สรุป project ที่จำทำมัน


เนื่องจากวันนี้ได้ไปเรียนมาเเล้วก็ได้ไปคุยกะอาจารย์ เเล้วอาจารย์ก็พยายามจะเเนะนำให้เข้าใจว่าผมได้โครงมาเเล้วจะเอาไปทำอะไร เเต่ผมยังคิดไม่ออกเพราะว่าผมคิดมากไป เพราะผมจะคิดอะไรที่มันดูเเบบว่าดูดีมากๆๆทำเเล้วต้องออกมาดี งานที่จะไม่ดีก็คิดเเต่ไม่ได้เอามาเสนอ เเต่วันนี้ผมได้รู้ว่า งานที่ดีไม่จำเป็นว่าผลจะออกมาสวยเลิศหรือว่าดีสุดๆ เเต่ความจิงเเล้วงานที่ดีจิงๆคุณต้องอธิบายได้ว่ามีที่มาอย่างไร ข้อมูลที่มาเป็นยังไง หาเหตุผลมาอ้างอิงได้ นั่นคือการที่มีระบบความคิดที่ดี เป็นระบบ
มี concept ที่ชัดเจน เเล้วนำมา apply มาเป็นงาน เเล้วอิกอย่างคือที่คิดไว้ คิดว่าไม่ดีเเต่จริงๆเเล้วที่ผมคิดว่าไม่ดีเนื่องจากผมยังไม่ได้ทดลองทำเลยไม่รู้ว่ามันดีหรือป่าว จึงตัดสินไปเองว่ามันไม่ดี เพราะยังไม่ได้ทำ พอมาทีนี้ผมได้รู้เเล้วว่ามันจะต้องประมานไหนในงาน เเล้ะผมก็จะนำโครงสร้างที่ได้มาทำงานกับโปรเจ็คของคำว่า "sequence"

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การพัฒนาโครงสร้าง Sequence


จากการที่ได้ทดลองเขียนโครงสร้างขึ้นมาเพราะว่า A and B มันอยู่ในเซ็ทเดียวกัน ดังนั้นจึงเกิดการรวมจากสองพจน์เป็นพจน์เดียวเนื่องจากว่า A and B ที่เสนอโครงสร้างที่เเล้วที่ A เป็นกระเดื่องกับไฮเเฮตเเล้ว B เป็นสเเนร์ สองสิ่งนี้มักจะมาคู่กันเมื่อเกิดการเหยียบกระเดื่องก็จะตามด้วยการตีสเเนร์ ซึ่งมักจะตามมาด้วยกันเสมอเป็นเสมือนสิ่งที่คู่กัน จึงต้องหาสองสิ่งที่คู่กันเพื่อจะมาอธิบาย ดังนั้นจึงทำโครงสร้างขึ้นมาใหม่โดยอาศัยหลักโครงสร้างเดิม โดย a รวมกับ b เป็นหนึ่งพจน์เเทนโดย A เเละ c เดิมที่เป็นตัวเสริมก้มาเป็น B เเละผลลัพท์ก็กลายมาเป็น C นั่นเอง

ต่อมาของโครงที่ได้มา



จึงได้มาเป็นโครงของที่เเสดงให้เห็นความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนขึ้น โดยที่มี A+B เเล้ว C เข้ามาเสริมช่วยให้เกิดเป็น D ซึ่งเป็นผลลัพท์ที่ได้ออกมาหรือ sequence ใหม่ โดยยกตัวอย่างให้ดูข้างล่างนี้น้า





จากรูปจะอธิบายให้เข้าใจอิกทีว่า
การที่มีเหล็กรวมกับวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดออกมาเป็นสสารอื่นที่อาจจะเป็นการทดลองซึ่งอาจจะเป็นเหล็กในอิกรูปแบบนึงก็ได้ เเต่พอมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเสริมก็อาจจะทำให้เกิดผลลัพท์ใหม่ๆ เช่นอาจจะเกิดเป็นหุ่นยนต์ หรือส่วนประกอบสิ่งของ เครื่องจักร การเเปรรูปต่างๆ นี่คือตัวอย่างการอธบายโครงสร้างนี้

Sequence!!!!!!!!!!!!!!!!!!

จากครั้งที่เเล้วมา ความคิดผมอาจจะไม่ใช่หรืออาจจะไม่ตรงประเด็นสักเท่าไหร่ นั่นคือยังไม่หลุดออกมาเท่าไหร่เลย จึงย้อนกลับไปในเรื่องของโครงที่ผมได้มาใหม่อิกครั้งหนึ่ง นั่นคือการเปลี่ยนระบบของคำว่า sequence คือการเปลี่ยนสถานการณ์ไปอิกอย่างนึง หรือการเปลี่ยนระบบของ sequence โดยมีคำว่า system เข้ามาเยงข้องด้วย จึงมาคิดว่า ในการที่ได้โครงมาเเบบนี้จะสามารถนำเสนองานเเบบไหนถึงจะเหมาะสม ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ผมคิดหนักอยู่เหมือนกัน จากครั้งที่เเล้ว พยายามจะนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับการกรอในเเต่ละ x ดูท่าจะไม่เวิร์กเลย เพราะยังมัวติดอยู่กับการกรอเพียงอย่างเดียว ยังไม่หลุดออกมาสักที เเล้วสุดท้ายก็มาพบปัญหาว่าโครงที่มีอยู่มันไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวจึงได้คิดโครงขึ้นมาใหม่ โดยเอาเรื่องที่ตัวเองสนใจนั่นคือเกี่ยวกับดนตรี ซึ่งเป็นสิ่งที่ตนเองสนใจด้วย เเล้วเครื่องดนตรีทุกอย่างมันก็จะมี sequence ของมันอยู่เเต่ผม scope มาที่กลองชุด เเล้วก็เริ่มศึกษาการทำงานของกลองชุด ว่ามีโครงของ sequence เป็นอย่างไร เเบบไหน เเล้วก้ได้เเตกออกมาได้ว่ามันมีการคุมจังหวะในเเต่ละอย่าง โดยเริ่มจากกระเดื่องเเละไฮเเฮตเป็นตัวคุมจังหวะหลักบวกกับการตีสเเนร์เเละผสมกับการใส่ลูกเล่นของทอมเเต่ละใบเเละเเฉเเต่ละใบ เป็นลำดับกันไปซึ่งเวลาใส่ลูกเล่นที่ทอมเเละเเฉในเเต่ละครั้งก็จะสามารถเกิดจังหวะหรือลูกส่งเพื่อที่จะเกิดท่อนใหม่หรือจังหวะใหม่ๆ ในการตีกลองทั่วไปจึงเเตกออกมาได้ว่า เท้าขวาเเละมือขวาเป็น A โดยเป็นตัวควบคุมจังหวะ มือซ้ายเป็น B ( ตีสเเนร์ ) ถ้าเกิด A จะตามมาด้วย B เเละทอมเเละเเฉในเเต่ละอันก็จะเป็น C เข้ามาเสริมช่วยให้เกิดเป็นลูกเล่นใหม่ หรือพุดง่ายๆคือ ถ้ามี A ก็จะมี B ตามมาหรือ A +B เเล้วมี C เข้ามาเสริมทำให้เกิดผลลัพท์ใหม่หรือ sequence ใหม่ โดยโครงที่ได้มานี้เป็นการรวม โดยการสร้างความสัมพันธ์กัน ตามรูป




วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การวิ่งของวินาทีต่อความเร็วในเเต่ละ x

2x เวลาในการวิ่งต่อ 1 นาที = 20 วินาที
4x เวลาในการวิ่งต่อ 1 นาที = 6 วินาที
8x เวลาในการวิ่งต่อ 1 นาที = 3 วินาที
20x เวลาในการวิ่งต่อ 1 นาที = 1.30 วินาที